บทความ

แนวทางการบริบาลผู้สูงอายุ

           ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน พบได้ทุกหลายระดับของเศรษฐกิจครอบครัว ปัญหาก็จะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ที่มีปัญหามากที่สุดมักเป็นผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือมีรายได้น้อย ด้อยโอกาส เจ็บป่วยเรื้อรัง ว่างงาน ถูกทอดทิ้ง ประสบภัยพิบัติ หรือมีติดสารเสพติดในผู้สูงอายุ ปัญหาต่าง ๆ จะมีปัญหาพื้นฐานของผู้สูงอายุประกอบด้วย ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านโภชนาการ ปัญหาด้านยารักษาโรค ปัญหาด้านคำแนะนำทางกฎหมาย เป็นต้นุ                                              จะเห็นได้ว่า ความต้องการของผู้บริบาลผู้สูงอายุจะหนีไม่พ้นปัญหาด้านการเงินถึงร้อยละ 57.3 และ มีความต้องการทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 83.4 (ศศิพัฒน์ ยอเดพชร, 2549) และเมื่อพิจารณาถึงความต้องการของ ผู้สูงอายุจะต้องการ การดูแลทั่วไป การดูแลที่มีปัญหาหลงลืม การจัดสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ การมีกลุ่มกิจกรรมของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นความต้องการในการวางแผนจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ นอกจากผู้สูงอายุแล้วความต้องการของผู้บริบาลเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ผู้มีบทบาทสำคัญในการบริบาลผู้สูงอายุยังคงเป็นครอบครัว โดยผู้ดูแลร้อยละ 81.2 เป็นบุตรหล

ผู้บริบาลผู้สูงอายุ

       จากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่  สังคมผู้สูงอายุ  โดยสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งสหประชาชาติระบุว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society และจะเป็น " สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ " (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 โดยตัวเลขของประเทศไทย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ไทยจะเข้าสู่สังคมประชากรสูงวัยแบบสมบูรณ์ โดยมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการแพทย์ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาว นโยบายการวางแผนครอบครัวหรือการควบคุมการมีบุตร ทำให้เกิดการลดภาวะเจริญพันธ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว                                สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุ

นโยบายสาธารณะของรัฐบาลไทย

  นโยบายสาธารณะของรัฐบาลที่เด่นชัด               นับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549  จนถึงปัจจุบัน 12 ปี  มีการเปลี่ยนรัฐบาลมาแล้ว 6 รัฐบาล และมีการรัฐประหารอีก 1 ครั้ง พรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ที่ชนะการเลือกตั้งถึง 2 สมัย ถูกยุบ ทว่าหลายสิ่งหลายอย่างยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไป นโยบายของพรรคไทยรักไทยถูกส่งต่อมายังรัฐบาลอีกหลาย ๆ ชุด ในระยะเวลา 12 ปี กระทั่งในปัจจุบัน รัฐบาลทหารที่ทำการยึดอำนาจจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังคงนโยบายบางอย่างของพรรคไทยรักไทยไว้ เพราะเป็นนโยบายที่สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง          ล่าสุด ประเทศไทยได้รับการชื่นชมจาก UN เรื่องของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นผลงานที่ท่านนายกทักษิณ  ชินวัตร ได้กำหนดและปฏิบัติใช้กันมาแล้ว โดยเฉพาะงานด้านป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นอันดับ 3 ของโลกและอันดับ 1 ของอาเซียน ทั้งนี้ WHO ได้นำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปใช้ประเทศที่กำลังพัฒนา หลังจากส่งคณะตัวแทนเข้าตรวจเยี่ยมงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานบริการสุขภาพทุกระดับ และพื้นที่ชุมชนจังหวัดขอนแก่น  (https://w

ตัวอย่างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

             ประเด็นของนโยบายสาธารณะจะมีหลาย ๆ นโยบาย เช่น นโยบายเพื่อสุขภาพ นโยบายเพื่อการศึกษา นโยบายเพื่อการเกษตร นโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จึงขอหยิบยกตัวอย่างของนโยบายสาธารณะในด้านสุขภาพ ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ บริหาร บริการ และวิชาการ-วิจัย เพื่อให้นักศึกษาทุกระดับชั้น ได้ศึกษาค้นคว้า และนำไปประกอบในการศึกษาวิจัยต่อไป ดังนี้  นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ                     นโยบายสาธารณสุขมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพประชาชนในการดำเนินงานทางด้านสุขภาพ และบริการสาธารณสุขต่าง ๆ ตัวอย่างนโยบายสาธารณสุขที่คุ้นเคย เช่น นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นโยบาย  30  บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร นโยบายสาธารณสุขมูลฐาน นโยบายการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรในระบบบริการสาธารณสุข เป็นต้น ในช่วงที่ผ่านมาแม้กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามนโยบายสาธารณสุขแต่อัตราการเจ็บป่วยล้มตายของประชากรไทยมิได้ลดลง และการเจ็บป่วยจากการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกลับเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น อุบัติเหตุ ดังนั้นประเทศไทยจึงเพิ่มความสำคัญต่อนโยบายสาธารณะที่มุ่งลดการตาย กา